วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

ISP


         ปัจจุบัน มีผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก ดังนั้นผู้ใช้จะต้องพิจารณาเลือกรายที่ดีที่สุด สำหรับการให้บริหารอินเตอร์เน็ตนั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้ของแต่ละบุคคล แต่ละองค์กร การใช้อินเตอร์เน็ตที่บ้านจำเป็นต้องพิจารณาผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตเป็น สำคัญ โดยสามารถทำได้ดังนี้                               
   1. ซื้อแบบ Package มาทดลองใช้ ซึ่งแบบนี้จะจำกัดชั่วโมง และจำกัดระยะเวลา เช่น 1 เดือน 3 เดือนเป็นต้น    
  2. สมัครเป็นสมาชิกรายเดือน คือผู้ใช้เสียค่าบริการเป็นรายเดือน และสามารถใช้ได้ไม่จำกัดชั่วโมงภายในเวลา 1 เดือน เหมาะสำหรับผู้ที่ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นประจำ

            รู้จัก ISP หรือ ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต คืออะไร
ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต หรือ Internet Service Provider คือ หน่วยงานที่บริการให้เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของบริษัท เข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตทั่วโลก ในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ หน่วยงานราชการหรือสถาบันการศึกษา กับบริษัทผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ทั่วไป
ISP ที่เป็นหน่วยงานราชการ หรือสถาบันการศึกษา มักจะเป็นการให้บริการฟรีสำหรับสมาชิกขององค์การเท่านั้น

          ISP ประเภทที่ให้บริการในเชิงพาณิชย์ ผู้ใช้ที่ต้องการใช้งานอินเตอร์เน็ตจะต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิกของ ISP รายนั้นๆ ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการใช้งานอินเตอร์เน็ต ซึ่งอัตราค่าบริการจะขึ้นอยู่กับ ISP แต่ ละราย ข้อดีสำหรับผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์ก็คือ การให้บริการที่มีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งรองรับกับความต้องการของผู้ใช้ที่แตกต่างกัน มีทั้งรูปแบบส่วนบุคคล ซึ่งจะให้บริการกับประชาชนทั่วไปที่ต้องการใช้งานอินเตอร์เน็ต และบริการในรูปแบบขององค์กร หรือบริษัท ซึ่งให้บริการกับบริษัทห้างร้าน หรือองค์กรต่าง ๆ ที่ต้องการให้พนักงานในองค์กรได้ใช้งานเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ISP จะเป็นเสมือนตัวแทนของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ถ้าผู้ใช้อินเตอร์เน็ตต้องการข้อมูลอะไรก็สามารถติดต่อผ่าน ISP ได้ทุกเวลา โดยวิธีการสมัครสมาชิกนั้น เราสามารถโทรศัพท์ติดต่อไปยัง ISP ที่ให้บริการต่าง ๆ ซึ่งเราสามารถเลือกรับบริการได้ 2 วิธี คือ ซื้อชุดอินเตอร์เน็ตสำเร็จรูปตามร้านทั่วไปมาใช้ และสมัครเป็นสมาชิกรายเดือน โดยใช้วิธีการติดต่อเข้าไปยัง ISP โดยตรง ซึ่งวิธีการ และรายละเอียดในการให้บริการของแต่ละที่นั้นจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับรูปแบบการให้บริการของ ISP รายนั้น ๆ จะกำหนด  ในการเลือก ISP นั้น ต้องพิจารณาความเหมาะสมในการใช้งานของเราเป็นหลัก โดยมีหลักในการพิจารณาหลายอย่างด้วยกัน เช่น ความน่าเชื่อถือของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตว่ามีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ หรือไม่ ดำเนินธุรกิจด้านนี้มากี่ปี มีสมาชิกใช้บริการมากน้อยขนาดไหน มีการขยายสาขาเพื่อให้บริการไปยังต่างจังหวัดหรือไม่ มีการลงทุนที่จะพัฒนาการให้บริการมากน้อยเพียงใด เป็นต้น  ประสิทธิภาพของตัวระบบ ก็เป็นส่วนสำคัญที่เราจำเป็นต้องพิจารณาด้วย เช่น ความเร็วในการรับ/ส่ง สม่ำเสมอหรือไม่ (บางครั้งเร็วบางครั้งช้ามาก) สายโทรศัพท์ต้นทางหลุดบ่อยหรือไม่ หรือในบางกรณีที่เรากำลังถ่ายโอนข้อมูล มายังเครื่องคอมพิวเตอร์ปรากฏว่าใช้งานไม่ได้ การเชื่อมต่อไปยังต่างประเทศ ไปที่ใดบ้างด้วยความเร็วเท่าไหร่ และการเชื่อมต่อกับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศเป็นอย่างไร มีสายสัญญาณหลักที่เร็ว หรือมีประสิทธิภาพสูงมากเพียงใด เพราะปัจจัยเหล่านี้จะมีผลต่อความเร็วในการใช้อินเทอร์เน็ตด้วย บริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการใช้งาน Technician Support นี่ก็เป็นส่วนสำคัญที่เราควรจะต้องพิจารณา เพราะหากการใช้บริการของเรามีปัญหา เราจะได้มั่นใจว่าทาง ISP จะ มีการดูแลแก้ไขให้ได้อย่างทันท่วงที และเราจะสามารถสอบถามการบริการใหม่ๆได้อยู่เสมอ รวมถึงบริการเสริมต่างๆก็เป็นสิ่งที่เราควรจะต้องพิจารณาด้วยเช่นเดียวกัน  โมเด็ม ก็เป็นส่วนสำคัญที่เราจะต้องใช้ในการท่องอินเตอร์เน็ต เราควรตรวจสอบโมเด็มที่เราใช้งานอยู่ว่าเป็นโมเด็มแบบใด 33.6Kbps หรือ 56 Kbps เนื่องจากโมเด็มมีมาตรฐานหลายแบบ ดังนั้น ควรตรวจสอบดูว่า ISPนั้นๆ สามารถรองรับโมเด็มของเราได้หรือไม่ ทั้งในด้านความเร็วและมาตรฐานต่างๆ เพราะ ISP แต่ ละรายการจะมีหมายเลขโทรศัพท์หลายหมายเลขด้วยกัน ซึ่งแต่ละหมายเลขจะใช้สำหรับโมเด็มที่มีความเร็วและมาตรฐานที่แตกต่างกัน เนื้อที่ในการจัดเก็บข้อมูล ที่ทางผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตอนุญาตให้สมาชิกจัดเก็บข้อมูลบนเครื่อง คอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ เช่น เนื้อที่ที่ให้จัดเก็บอีเมล์หรือจัดเก็บไฟล์ข้อมูลไปที่ดาวน์โหลดจากแหล่ง ข้อมูลในอินเตอร์เน็ต ซึ่งโดยทั่วไป ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตจะให้พื้นที่เก็บข้อมูลประมาณ 2 MB  ค่า บริการรายเดือน ก็เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการเลือกผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต ค่าบริการรายเดือนจะถูกกำหนดตามชั่วโมงของการใช้งาน จำนวนชั่วโมงในการใช้งานยิ่งมากเท่าไหร่ ก็จะเสียค่า บริการเพิ่มมมากขึ้นตามลำดับ นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาที่ค่าธรรมเนียมแรกเข้าด้วย เพราะบาง ISP จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมแรกเข้า แต่บาง ISP จะไม่มีการเรียกเก็บหลังจากที่เราเลือกผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือการติดต่อขอใช้บริการอินเตอร์เน็ตกับ ISP ซึ่งในประเทศไทยมีผู้ให้บริการ 18 แห่งด้วยกัน คือ
1. บริษัท ล็อกซ์เล่ย์ อินฟอร์เมชั่น เซอร์วิส จำกัด
2. บริษัท เคเอสซี คอมเมอร์เชียล อินเทอร์เน็ต จำกัด
3. บริษัท อินโฟ แอคเซส จำกัด
4. บริษัท สามารถ อินโฟเน็ต จำกัด
5. บริษัท เอเน็ต จำกัด
6. บริษัท ไอเน็ต (ประเทศไทย) จำกัด
7. บริษัท เวิลด์เน็ต แอน เซอร์วิส จำกัด
8. บริษัท ดาตา ลายไทย จำกัด
9. บริษัท เอเชีย อินโฟเน็ต จำกัด
10. บริษัท ดิไอเดีย คอร์ปอเรชั่น ประเทศไทย จำกัด
11. บริษัท สยาม โกลบอล แอกเซส จำกัด
12. บริษัท ซีเอส คอมมิวนิเคชั่น จำกัด
13. บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด
14. บริษัท ชมะนันท์ เวิลด์เน็ต จำกัด
15. บริษัท ฟาร์อีสต์ อินเทอร์เน็ต จำกัด
16. บริษัท อีซีเน็ต จำกัด
17. บริษัท เคเบิล วายเลส จำกัด
18. บริษัท รอยเน็ต จำกัด (มหาชน)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น