วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

การ ping

คำสั่ง ping ใช้ในการตรวจสอบระบบเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย(Server) และอุปกรณ์สื่อสารที่ติดต่ออยู่ว่าติดต่อได้หรือไม่

รูปแบบการเรียกใช้คำสั่งมีดังต่อไปนี้
ping [ ชื่อเครื่อง(domain name)หรือหมายเลข IP-Address]


           โดย ที่ผู้ใช้สามารถเรียกใช้ผ่านทาง MS-DOS Prompt ของ Window หรือไปที่เมนู Start > Run แล้วพิมพ์คำสั่ง ping ชื่อเครื่องหรือหมายเลข IP Address แล้วกดปุ่ม OK ดังรูปที่ 1 และ 2ถ้าคำสั่ง ping แสดงผลการตอบรับของเพ็จเกจ(packet) ของเครื่องที่ติดต่อไปดังรูปที่ 3 แสดงว่าเครื่องของท่านสามารถติดต่อเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย(Server) และอุปกรณ์สื่อสารได้ (หน้าต่างการแสดงผลการตอบรับของเพ็จเกจจากเครื่องเป้าหมายอาจจะปรากฎเพียง 2-3 วินาที ทำให้ดูไม่ทัน วิธีแก้ไขคือแทนที่จะใช้คำสั่ง ping อย่างเดียว ให้ใส่ออปชั่น -t ตามหลังคำสั่ง ping ยกตัวอย่างเช่น ping -t nontri.ku.ac.th )ในกรณีที่หลังจากใช้คำสั่ง ping แล้วปรากฏหน้าจอขึ้นมาบอกว่า "Request Timed Out" ดังรูปที่ 4 แสดงว่าเครื่องของท่านไม่สามารถติดต่อเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย(Server) และอุปกรณ์สื่อสารได้ยกตัวอย่างเช่น การตรวจสอบการติดต่อกับเครื่องเชิร์ฟเวอร์นนทรี


รูปที่ 1 หน้าต่างการใช้คำสั่ง ping ตามด้วยชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์         
รูปที่ 2 หน้าต่างการใช้คำสั่ง ping ตามด้วยหมายเลข IP Address
 

รูปที่ 3 หน้าต่างการใช้คำสั่ง ping แสดงผลการตอบรับของเพ็จเกจ(packet) ของเครื่องเชิร์ฟเวอร์นนทรี

รูปที่ 4 หน้าต่างการใช้คำสั่ง ping แสดงหน้าจอ "Request Timed Out"

การ Share Printer

1.การ share printer
1.1เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำการ share printer ได้นั้น จะต้องเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่กับ printer โดยตรง ซึ่งจะสามารถทำการ share printer ได้ดังนี้  คลิก start เลือก Printers and Faxes

1.2 หลังจากเลือก Printers and Faxes แล้ว จะปรากฏหน้าจอแสดงว่าเครื่องของท่านได้มีการเชื่อมต่อกับ printer ตัวใดบ้าง

1.3 ท่านสามารถ share printer ได้โดยคลิกขวาที่ไอคอน printer ที่ท่านต้องการ share จะปรากฏเมนูต่างๆ ให้ท่านเลือก Sharing…..

1.4 จากนั้นเลือก Share this printer และ กำหนดชื่อ printer ที่ช่อง Share name

1.5 เมื่อทำการ Share printer เรียบร้อยแล้ว จะปรากฏไอคอนดังรูปข้างล่างนี้

2.การใช้ printer ร่วมกัน มีวิธีการเชื่อมต่อ printer ได้ 2 วิธี ดังนี้
     -การเชื่อมต่อผ่านฟังค์ชั่น Printers and Faxes

1.เลือก start --> Printers and Faxes

2. เลือก Add a printer จากรายการทางด้านซ้ายมือ

3. คลิก Next เพื่อเริ่มทำการ Add Printer

4. เลือก A network printer, or printer attached to another computer เพื่อเชื่อมต่อกับ printer ที่มีอยู่ในระบบเครือข่าย

5. เลือก Browse for a printer เพื่อค้นหา printer ที่มีอยู่ในระบบเครือข่าย


6. ดับเบิ้ลคลิกที่ระบบเครือข่ายที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของท่านอยู่
 

7. ดับเบิ้ลคลิกที่ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์หลักที่ต่อกับ printer โดยตรง ซึ่งวิธีการดูชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ได้กล่าวมาแล้วในเรื่องการตรวจสอบระบบ เครือข่ายเบื้องต้น

8. เมื่อดับเบิ้ลคลิกชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ จะปรากฏชื่อ printer ที่เชื่อมต่ออยู่กับคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น ให้ท่านเลือกเครื่องพิมพ์ที่ท่านต้องการเชื่อมต่อ

9. ระบบจะมีข้อความปรากฏขึ้นมา เพื่อให้ท่านยืนยันการเชื่อมต่อกับเครื่องพิมพ์ ถ้าต้องการเชื่อมต่อให้คลิก Yes

10. จากนั้นระบบจะถามว่าท่านต้องการให้ printer นี้ เป็นเครื่องหลักในการใช้งานหรือไม่ ถ้าต้องการให้ท่านตอบ Yes

11. คลิก Finish เพื่อเสร็จสิ้นการ share printer

12. หลังจากเสร็จสิ้นการเชื่อมต่อ จะปรากฏไอคอนของ printer ที่ท่านทำการเชื่อมต่อ


      - การเชื่อมต่อผ่านฟังค์ชั่น Run
1. คลิก Start เลือก Run

2. พิมพ์ \\ แล้วตามด้วย ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์หลักที่ต่อกับ printer โดยตรง ซึ่งวิธีการดูชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ได้กล่าวมาแล้วในเรื่องการตรวจสอบระบบ เครือข่ายเบื้องต้น

3. หน้าจอที่ปรากฏต่อมาจะแสดงสิ่งที่เจ้าของเครื่องคอมพิวเตอร์ share ไว้ ให้ท่านคลิกขวาที่ไอคอนเครื่องพิมพ์ที่ท่านต้องการเชื่อมต่อ แล้วเลือก Connect…

4. ระบบจะมีข้อความปรากฏขึ้นมา เพื่อให้ท่านยืนยันการเชื่อมต่อกับเครื่องพิมพ์ ถ้าต้องการเชื่อมต่อให้คลิก Yes

5. หลังจากเสร็จสิ้นการเชื่อมต่อ จะปรากฏไอคอนของ printer ที่ท่านทำการเชื่อมต่อ

6. หากท่านต้องการให้ printer นี้ เป็นเครื่องหลักในการใช้งาน  ให้คลิกขวาที่ไอคอนของ printer นั้น แล้วเลือก Set as Default Printer]

ประวัติ Internet

กำเนิดอินเตอร์เน็ต
            ย้อนกลับไปในปี 1969 ขณะที่โลกยังอยู่ในยุคสงครามเย็น สหรัฐและรัสเซียต่าง พยายามสะสมอาวุธนิวเคลียร์ให้มากกว่าฝ่ายตรงข้ามความหวดกลัวสงคราม นิวเคลียร์มีผลให้กระทรวง กลาโหมแห่งประเทศสหรัฐอเมริการิเริ่ม การสร้าง ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทางทหารและมหาวิทยาลัย ซึ่งสามารถจะสื่อสารกัน ได้แม้บางส่วนจะถูกทำลายโดยอาวุธนิวเคลียร์ จึงได้ตั้งหน่วยงานขึ้นมาเพื่อวิจัย งานโครงข่าย คอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานในกองทัพชื่อว่า Advanced Research Projects Agency หรือที่เรียกย่อๆ ว่า ARPA เครือข่ายในขณะนั้นจึงมีชื่อว่า ARPANET

ต่อมา ARPA ก็ต้องพบกับปัญหาที่ดูเหมือนจะเป็นเรื่องธรรมดาของการสร้าง เครือข่าย คือคอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันไม่สามารถเชื่อมต่อเข้ากันได้ เนื่องจากไม่ได้ ถูกสร้างโดยใช้มาตรฐานเดียวกัน ดังนั้น ARPA จึงได้แก้ปัญหา โดยการสร้าง โพรโตคอล TCP/IP (Transmission Transfer Protocol/Internet Protocol) เพื่อเป็นมาตรฐานในการติดต่อ และนำมาใช้สร้างเครือข่าย internetwork เพื่อแก้ปัญหาในการเชื่อมต่อระบบ และระบบนี้เองที่ต่อมาถูก เรียกสั้นๆ ว่า Internet (อินเตอร์เน็ต) และ โพรโตคอล TCP/IP ก็คือโพรโตคอลของอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันนั่นเอง


อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
           ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตในปี พ.ศ. 2530 ในลักษณะการใช้บริการ จดหมายเล็กทรอนิกส์แบบแลกเปลี่ยนถุงเมล์เป็นครั้งแรก โดยเริ่มที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (Prince of Songkla University) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือสถาบันเอไอที (AIT) ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและออสเตรเลีย (โครงการ IDP) ซึ่งเป็นการติดต่อเชื่อมโยงโดยสายโทรศัพท์ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2531 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้ยื่นขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ต Sritrang.psu.th ซึ่งนับเป็นที่อยู่อินเทอร์เน็ตแห่งแรกของประเทศไทย ต่อมาปี พ.ศ. 2534 บริษัท DEC (Thailand) จำกัดได้ขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตเพื่อใช้ประโยชน์ภายในของบริษัท โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ตเป็น dect.co.th โดยที่คำ “th” เป็นส่วนที่เรียกว่า โดเมน (Domain) ซึ่งเป็นส่วนที่แสดงโซนของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยย่อมาจากคำว่า Thailand กล่าวได้ว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตชนิดเต็มรูปแบบตลอด 24 ชั่วโมง ในประเทศไทยเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือน กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2535 โดยสถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี (UUNET Technologies) ประเทศสหรัฐอเมริกา

          ในปีเดียวกัน ได้มีหน่วยงานที่เชื่อมต่อแบบออนไลน์กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลายแห่งด้วยกัน ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่าเครือข่าย “ไทยเน็ต” (THAInet) ซึ่งนับเป็นเครือข่ายที่มี “ เกตเวย์ “ (Gateway) หรือประตูสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นแห่งแรกของประเทศไทย (ปัจจุบันเครือข่ายไทยเน็ตประกอบด้วยสถาบันการศึกษา 4 แห่งเท่านั้น ส่วนใหญ่ย้ายการเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ตโดยผ่านเนคเทค (NECTEC) หรือศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ)
              ปี พ.ศ.  2535 เช่นกัน เป็นปีเริ่มต้นของการจัดตั้งกลุ่มจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาและวิจัยโดยมีชื่อว่า "เอ็นดับเบิลยูจี" (NWG : NECTEC E-mail Working Group) โดยการดูแลของเนคเทค และได้จัดตั้งเครือข่ายชื่อว่า "ไทยสาร" (ThaiSarn : Thai Social/Scientific Academic and Research Network) เพื่อการติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน โดยเริ่มแรกประกอบด้วยสถาบันการศึกษา 8 แห่ง ปัจจุบันเครือข่ายไทยสารเชื่อมโยงกับสถาบันต่างๆ กว่า 30 แห่ง ทั้งสถาบันการศึกษาและหน่วยงานของรัฐ
         ปัจจุบันได้มีผู้รู้จักและใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้น มีอัตราการเติบโตมากกว่า 100 % สมาชิกของอินเทอร์เน็ตขยายจากอาจารย์และนิสิตนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาไปสู่ประชาชนทั่วไป

ระบบเครือข่าย Internet

           อินเทอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่เป็นเครือข่ายใหญ่ และเครือข่ายย่อย จำนวนมากเชื่อมต่อกัน เป็นจำนวนหลายร้อยล้านเครื่อง ซึ่งใช้ในการติดต่อสื่อสารข้อมูลที่เป็นรูปภาพ ข้อความ และเสียง โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีผู้ใช้งานกระจายอยู่ทั่วโลก 


     อินเทอร์เน็ต มีจุดเริ่มต้นมาจากเหตุผลทางการทหาร เนื่องจากในยุคสงครามเย็น เมื่อประมาณ  พ.ศ.2510 ระหว่างฝ่ายคอมมิวนิสต์ และฝ่ายเสรีประชาธิปไตย ซึ่งนำโดยสหรัฐอเมริกา โดยต่างฝ่าย ต่างก็กลัวขีปนาวุธ ของอีกฝ่ายหนึ่ง โดยผู้นำสหรัฐอเมริกา วิตกว่า ถ้าหากทางฝ่ายรัฐเซีย ยิงขีปนาวุธนิวเคลียร์เข้ามา ถล่มจุดยุทธศาสตร์บางจุดของตนเองขึ้นมา อาจจะทำให้คอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อกันเสียหายได้ จึงได้สั่งให้มีการวิจัย เพื่อสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ชนิดใหม่ขึ้นมา เพื่อป้องกันความเสียหาย โดยมีจุประสงค์ว่า ถ้าคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง ถูกทำลาย แต่เครื่องอื่นก็จะต้องใช้งานต่อไปได้ หน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลระบบเครือข่าย ในขณะนั้นมีชื่อว่า ARPA (Advanced Research Projects Agency) ดังนั้นชื่อเครือข่ายในขณะนั้น จึงถูกเรียกว่า ARPANET ต่อมาในปี พ.ศ. 2547 เครือข่ายขยายใหญ่โต เพิ่มมากขึ้น จากการระดม นักวิจัยเพื่อสร้างมาตรฐานใหม่ขึ้นมา เพื่อความเหมาะสม จึงได้มาตรฐาน TCP/IP และนอกจากประโยชน์ด้านงานวิจัย และทางทหารแล้ว ยังได้นำมาใช้ประโยชน์ทางด้านธุรกิจ และการพาณิชย์อีกด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. 2532 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และนำมาใช้ประโยชน์ ในการติดต่อข้อมูลข่าวสารมากมาย สำหรับในประเทศไทยได้มีการเริ่มต้นติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ต เป็นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เพื่อใช้ในการศึกษาของมหาวิทยาลัย โดยติดต่อกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย โดยเชื่อมต่อเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ เพื่อรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ กับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ในปี พ.ศ. 2530 ต่อมากระทวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและพลังงาน ได้มอบหมายให้ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ให้ทุนสนับสนุน แก่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง เพื่อศึกษา ถึงการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ ของมหาวิทยาลัยด้านวิทยาศาสตร์ 12 แห่งเข้าเป็นเครือข่ายเดียวกันเมื่อ พ.ศ. 2531 หลังจากนั้นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เป็นเกตเวย์อินเทอร์เน็ต ในประเทศไทยและเริ่มให้บริการทางอินเทอร์เน็ต เต็มรูปแบบในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2535 และต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2537 การสื่อสารแห่งประเทศไทย ร่วมลงทุนกับหน่วยงานของรัฐ และเอกชน เปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ 2 รายคือบริษัทอินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด และบริษัท อินเทอร์เน็ต คอมเมอร์เชียล แอนด์โนว์เลจเซอร์วิส จำกัด ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น KSC คอมเมอร์เชียลอินเทอร์เน็ต จำกัด
 

การติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows Server 2008



                     ระบบปฏิบัติการ Windows Server 2008 เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาต่อจาก Windows Server 2003 โดยเวอร์ชั่น 2008 ได้เพิ่มความสามารถหลายส่วนด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นด้าน Security, การบริการจัดการเซิร์ฟเวอร์ที่จุดศูนย์รวมจุดเดียว(Server Manager) สำหรับผู้ที่ต้องการทดลองใช้สามารถดาวน์โหลดซอฟต์แวร์แบบ Tray it ได้ที่
สามารถทดลองใช้งานได้ 60 วัน (ตอนนี้ได้ (29 สิงหาคม 2552)ขยายเวลาทดสอบเป็น 240 วัน )
ความต้องการของระบบ
- CPU ขั้นต่ำ 1 GHz (x86 processor) หรือ 1.4 GHz (x64 Processor)
- RAM ขั้นต่ำ 1 GB
- HDD ขั้นต่ำ 10 GB (แนะนำควรเป็น 40 GB)
- DVD-ROM Drive
- Super VGA ความละเอียด 800x600 pixel
*อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
http://www.microsoft.com/thailand/windowsserver2008/pricing.aspx

สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนลง  Windowa  Server  2008

1. ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ (Hostname ในระบบวิโดวส์เรียกว่า Computer Name ) ทั้งนี้การตั้งชื่อเครื่องควรตั้งเป็นชื่อบริการหลักที่ต้องการใช้งาน อาทิ เช่น
- กรณีต้องการใช้ทำเครื่องอินทราเน็ตใช้งานในองค์กรให้ตั้งเป็น intranet
- กรณีต้องการใช้ทำเครื่องบริการเว็บไซต์ให้ตั้งเป็น www
- กรณีทำเป็นเครื่องบริการเนมเซิร์ฟเวอร์ให้ตั้งเป็น ns1, ns2
- กรณีตั้งเป็นเครื่องบริการเมล์ก็ตั้งเป็น mail, webmail
- กรณีทำเป็นพร็อกซี้ให้ตั้งเป็น proxy
- กรณีทำเป็นเครื่องบริการศูนย์เรียนรู้ให้ตั้งเป็น e-learning
2. รายละเอียดของ IP Address
สำหรับรายละเอียดของไอพีแอดเดรส กรณีตั้งเป็นโฮสต์บริการในโลกอินเทอร์เน็ตผู้อ่าน ต้องมีชุดของ IP Address จริง ทำการระบุในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ติดตั้ง ตัวอย่างรายละเอียดหมาย
เลขของพีแอดเดรส อาทิเช่น
IP Address : 203.159.231.35
Subnet mask : 255.255.255.192
Gateway : 203.159.231.1
Name Server : 203.159.231.35, 203.159.231.36 < DNS ของศูนย์บริการที่ใช้งานอยู่

ขั้นตอนการติดตั้ง Windows Server 2008
1. ทำการตั้งค่า BIOS ของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ให้บู๊ตจาก CD-ROM หรือ DVD-ROM
2. ใส่แผ่น CD ตัวติดตั้งแล้วทำการบู๊ตเครื่องใหม่
3. ระบบแสดงเมนูเข้าสู่การติดตั้ง ให้เลือกภาษาที่ต้องการใช้งานเป็น English, รูปแบบวัน เวลา และชนิดแป้นพิมพ์ เสร็จแล้วคลิกที่ปุ่ม Next

เลือกภาษา วันเวลา และชนิดแป้นพิมพ์ที่ต้องการใช้งาน
4.คลิกที่ปุ่ม Install เพื่อเข้าสู่การติดตั้ง
5.ใส่หมายเลขผลิตภัณฑ์ (Product Key) เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Next
6. เลือกรูปแบบเซิร์ฟเวอร์ที่ต้องการติดตั้ง เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Next
7. ระบบรายงานลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ให้คลิกเลือกที่ [*] I Accept License Terms เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Next
8. คลิกเลือกที่ Custom (Advanced)
9. เลือกดิสก์ที่ต้องการติดตั้งระบบ เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Next
10. ระบบจะเริ่มคัดลอกไฟล์ลงฮาร์ดดิสก์ พร้อมเริ่มทำการติดตั้งระบบ
11. คลิกที่ปุ่ม OK เพื่อเข้าสู่หน้าต่างกำหนดระหัสผ่าน
12. กำหนดรหัสผ่านของผู้ดูแลระบบ
13. คลิกที่ปุ่ม OK เพื่อยอมรับการเปลี่ยนรหัสผ่านใหม่
14. แสดงหน้าต่างเดสก์ทอปของ Windows Server 2008

การ Login เข้าระบบ
1. หลังจากบู๊ตระบบเข้ามาจะพบกับหน้าต่างให้กำหนเรหัส Administrator
2. กดปุ่ม Ctrl+Alt+Del
3. ทำการล็อกอินเข้าระบบโดยการป้อนรหัสผ่านเข้าไป

การ Shutdown ออกจากระบบ
1. กรณีที่ต้องการออกจากระบบคลิกที่ปุ่ม Start > เลือก Shutdown

log file




           หลังจากวันที่ 18 กรกฎาคม 2550 พรบ.ความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ได้ประกาศใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ทุกหน่วยงานต่างก็ตื่นตัวเกี่ยวกับข้อกฏหมายนี้ โดยเฉพาะข้อกฏหมาย มาตราที 26 ว่าด้วยเรื่องของ การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ หรือที่เรียกกันว่า Traffic log นั้นเอง
            โดยที่ "ผู้ให้บริการ" ไม่ได้หมายถึง "ISP" เท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึง หน่วยงานภาครัฐบาล, เอกชนหรือหน่วยงานที่จัดตั้งและให้บริการเครือข่าย Internet, Intranet ทั้งที่เป็นแบบผ่านสายหรือไร้สาย ซึ่งทำให้เรานึกไปถึง ธุรกิจร้านอินเทอร์เน็ต คาเฟ่, สถานศึกษา และ องค์กรธุรกิจ เป็นต้น
แล้วเมื่อเราเข้าข่ายเป็นผู้ให้บริการแล้วเราจะต้องทำอย่างไรบ้าง?
           - จะต้องจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือ Log File ของผู้เข้ามาใช้งานในระบบคอมพิวเตอร์ทุกเครือข่าย นับตั้งแต่วันที่ข้อมูลเข้าไม่น้อยกว่า 90 วัน แต่ไม่เกิน 1 ปี เป็นบางกรณี และต้อง back up ข้อมูลด้วย หากไม่ดำเนินการมีความผิดปรับไม่เกิน 500,000 บาท หากเจ้าหน้าที่เรียกตรวจสอบแล้วไม่มีข้อมูลดังกล่าวถูกปรับไม่เกิน 200,000 บาท และปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละ 5,000 บาทจนกว่าจะปฏิบัติถูกต้อง 


ข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์ ควรมีลักษณะอย่างไร?
  • ข้อมูลที่จัดเก็บต้องสามารถระบุตัวบุคคลได้
  • สามารถชี้แจงเส้นทางของข้อมูลได้ ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลจากใคร, เมื่อออกจากเครือข่ายของเราแล้วไปที่ไหน รวมไปถึงวัน-เวลาที่ข้อมูลนั้นเข้าออกด้วย
  • เป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้ มีการป้องกันการแก้ไขหรือลบข้อมูล
  • ง่ายต่อการค้นหา
           ในการเก็บข้อมูลดังกล่าว หากไปหน่วยงานหรือองค์กรขนาดเล็ก ก็อาจจะไม่ปัญหามากนัก เนื่องจากปริมาณข้อมูลจราจรมีขนาดไม่ใหญ่มากมาย แต่สำหรับองค์กรที่มีผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์มากๆ ก็คงต้องมองหา solution ที่เหมาะสมกับตัวเอง ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการป้องกันและติดตามหาหลักฐานของผู้ใช้คอมพิวเตอร์กระทำความผิด มาลงโทษตามกฏหมายต่อไป


วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

อุปกรณ์ทางด้าน Network




1. เครื่องทวนสัญญาณ (Repeater)
           เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ขยายหรือเพิ่มระยะทางการสื่อสารของเครือข่ายในการส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย ตามมาตรฐานต่าง ๆ เช่น ในมาตรฐานการส่งข้อมูลในระบบเครือข่ายใช้ 10BaseT ซึ่งมีข้อกำหนดของมาตรฐาน การ เชื่อมต่อระบบได้ในระยะทางไม่เกิน 100 เมตร ถ้าความยาวของระบบมากกว่า 100 เมตร ต้องมีเครื่องทวนสัญญาณในการขยายสัญญาณ เพื่อให้เป็นระบบเครือข่ายเดียวกัน


เครื่องทวนสัญญาณ (Repeater)

2. บริดจ์ (Bridge)
        เป็น อุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อระบบ LAN เข้าด้วยกัน โดยออกแบบมาเพื่อใช้ติดต่อระหว่างเครือข่ายท้องถิ่น LAN จำนวน 2 เครือข่าย ที่มีโปรโตคอลเหมือนกันหรือต่างกัน เพื่อให้สามารถขยายขอบเขตของ LAN ออกไปได้ โดยประสิทธิภาพในทางรวมลดลงไม่มาก เนื่องจากการติดต่อของเครื่องอยู่ในเซกเมนด์เดียวกัน จะไม่มีการส่งผ่านต่างเซกเมนด์ (Segment)


3. ฮับ (Hub)
          เป็น อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กระจายช่องทางการสื่อสารข้อมูลได้หลายช่องทางในระบบ เครือข่าย โดยการขยายสัญญาณที่ส่งผ่านมา ทำให้สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ผ่านสายเคเบิลได้ใกล้ขึ้น และใช้กับระบบเครือข่ายแบบ Star ในปัจจุบัน Hub มีความเร็วในการสื่อสารแบบ 10 และ 100 Mbps ลักษณะการทำงานของ Hub จะแบ่งความเร็วตามจำนวนช่องสัญญาณ (Port) ที่ใช้งานตามมาตรฐานความเร็ว เช่น ระบบเครือข่ายใช้มาตรฐานความเร็วเป็นแบบ 10 Mbps และมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อในระบบ 5 เครื่อง แต่ละเครื่องสามารถสื่อสารกันภายในระบบโดยใช้ความเร็วเท่ากับ 10/5 คือ 2 Mbps


ฮับ (Hub)

4. สวิตช์ (Switch)             สวิตซ์ หรือ อีเธอร์เนตสวิตช์ (Ethernet Switch) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กระจายช่องทางการสื่อสารข้อมูลหลายช่องทางในระบบ เครือข่าย คล้ายกับ Hub ต่างกันตรงที่ลักษณะการทำงานและความสามารถในเรื่องของความเร็ว การทำงานของ Switch ไม่ได้แบ่งความเร็วตามจำนวนช่องสัญญาณ (port) ตามมาตรฐานความเร็วเหมือน Hub โดยแต่ละช่องสัญญาณ (port) จะใช้ความเร็วเป็นอิสระต่อกันตามมาตรฐานความเร็ว เช่น ระบบเครือข่ายใช้มาตรฐานความเร็วเป็นแบบ 100 Mbps และมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อในระบบ 5 เครื่อง แต่ละเครื่องก็จะสื่อสารกันภายในระบบโดยใช้ความเร็วเท่ากับ 100 Mbps


สวิตช์ (Switch)

5. เราท์เตอร์ (Router)
           เป็น อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายต่างชนิดกัน หรือใช้โปรโตคอลต่างกัน เข้าด้วยกัน คล้าย ๆ กับ Bridge แต่ลักษณะการทำงานของ Router นั้นจะซับซ้อนกว่า เพราะนอกจากจะเชื่อมต่อแล้วยังเก็บสภาวะของเครือข่ายแต่ละส่วน (Segment) ด้วย และสามารถทำการกรอง (Filter) หรือเลือกเฉพาะชนิดของข้อมูลที่ระบุไว้ว่าให้ผ่านไปได้ ทำให้ช่วยลดปัญหาการจราจรที่คับคั่งของข้อมูล และเพิ่มระดับความปลอดภัยของเครือข่าย ซึ่งสภาวะของระบบเครือข่ายที่เชื่อมต่อกันนี้ Router จะจัดเก็บในรูปของตารางที่เรียกว่า Routing Table ซึ่งตาราง Routing Table นี้จะมีประโยชน์ในด้านของความเร็วในการหาเส้นทางการสื่อสารข้อมูลระหว่าง ระบบเครือข่ายโดยเฉพาะกับระบบเครือข่ายที่ซับซ้อนมาก ๆ เช่น ระบบ MAN, WAN หรือ Internet เป็นต้น
 

เราท์เตอร์ (Router) 

6. เกตเวย์ (Gateway)
             เป็น อุปกรณ์ที่ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2 เครือข่ายหรือมากกว่า ที่มีลักษณะไม่เหมือนกันสามารถติดต่อกันได้เหมือนเป็นเครือข่ายเดียวกัน เปรียบเสมือนเป็นประตูทางผ่านในการสื่อสารข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ต่างชนิด กัน เช่น ระหว่างเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ทั่ว ๆ ไปกับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ หรือเมนเฟรม ซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เป็นต้น อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็น Gateway นั้นอาจจะใช้คอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งทำหน้าที่ก็ได้


7. โมเด็ม (Modem)
              เป็น อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณจากดิจิตอล (Digital) ให้เป็นสัญญาณอนาล็อก (Analog) และจากสัญญาณอนาล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิตอล โมเด็มเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญ
ในการสื่อสารบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพราะโมเด็มทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณ
คอมพิวเตอร์ ให้เป็นสัญญาณที่อุปกรณ์สื่อสารอื่น ๆ ในระบบเครือข่ายสามารถเข้าใจได้ หลังจากนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่รับข้อมูลต้องมีโมเด็มเพื่อแปลงสัญญาณจาก อุปกรณ์สื่อสารให้เป็นสัญญาณ
ที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ ซึ่งความสามารถของโมเด็มสามารถวัดได้จากความเร็วในการรับส่งข้อมูลจำนวน 1 บิตต่อ 1 วินาที (บิตต่อวินาที) หรือ bps (bit per second) ปัจจุบัน Modem มีสองประเภท คือ โมเด็มที่ติดตั้งไว้ในเครื่อง (Internal Modem) และโมเด็มที่ไม่ได้ติดตั้งไว้ในเครื่อง (External Modem) ซึ่งผู้ใช้สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม


โมเด็ม (Modem)

         ระบบเครือข่ายอินทราเน็ต (Intranet) เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในองค์กรหรือระหว่างองค์กร โดยการเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายท้องถิ่น หรือเครือข่ายแลน (LAN) หรืออาจจะเป็นเครือขายต่างท้องถิ่น หรือเครือข่ายแวน (WAN) และเป็นเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอล ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP) เป็นตัวเชื่อมโยงการสื่อสาร การสื่อสารบนเครือข่ายอินทราเน็ตที่สำคัญๆ ได้แก่ การสื่อสารระบบเว็บ (Web) การโอนย้ายไฟล์ (FTP) และระบบฐานข้อมูล (Database) อาจกล่าวได้ว่าอินทราเน็ต คืออินเตอร์เน็ตขนาดเล็ก เพราะซอฟต์แวร์ที่ใช้เพื่อการสื่อสารบนอินทราเน็ตจะเป็นแบบเดียวกับที่ใช้บน อินเตอร์เน็ต รวมทั้งเซิร์ฟเวอร์บนเครือข่ายอินทราเน็ตก็มีการใช้แอพพลิเคชัน เหมือนกับเซิร์ฟเวอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตทุกประการ